เมนู

บทว่า ตสฺส เม อหุ อุสฺสาโห ความว่า เมื่อเรานั้นเห็น
พระนิพพาน กล่าวคือเนกขัมมะนั้นอย่างแจ่มแจ้ง จึงได้มีความอุตสาหะ
หมายความว่า ได้มีความพยายาม.
บทว่า นาหํ ภพฺโพ เอตรหิ กามานิ ปฏิเสวิตุํ ความว่า
บัดนี้ เราตถาคตไม่ควรที่จะเสพกามทั้งสองอย่าง. บทว่า อนิวตฺติ ภวิสฺสามิ
ความว่า เราตถาคตจักไม่หวนกลับ คือ จักไม่ถอยกลับจากบรรพชาและจาก
สัพพัญญุตญาณ. บทว่า พฺรหฺมจริยปรายโน ความว่า เราตถาคตกลายเป็น
ผู้มีมรรคพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงความเพียรที่เป็นเหตุให้พระองค์ได้บรรลุ
ณ บัลลังก์ใต้ต้นมหาโพธิด้วยคาถาเหล่านี้ดังว่ามานี้.
จบอรรถกถาสุขุมาลสูตรที่ 9

10. อธิปไตยสูตร



ว่าด้วยอธิปไตย 3



[479] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย 3 นี้ 3 คืออะไร คือ
อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธรรมาธิปไตย.
ก็อัตตาธิปไตย เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ป่าก็ดี
อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ก็เราออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่เพื่อจีวร มิใช่เพื่อบิณฑบาต มิใช่เพื่อเสนาสนะ
เป็นเหตุมิใช่เพื่อความมีและไม่มีอย่างนั้น ที่แท้ เราเป็นผู้อันความเกิด

ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย
ความเสียใจ ความคับแค้นใจครอบงำแล้ว ตกอยู่ในกองทุกข์ มีความทุกข์
ท่วมทับแล้ว คิดว่า (ด้วยการบวชนี้) ลางทีความทำที่สุดแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏได้ ก็แลเราละทิ้งกามอย่างใด ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตแล้ว จะมาแสวงหากามอย่างนั้นหรือกามที่เลวยิ่งกว่านั้น
นั่นไม่สมควรแก่เราเลย ภิกษุนั้นจึงตกลงอย่างนี้ว่า ความเพียร เราต้อง
ทำไม่ย่อหย่อน สติต้องตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายต้องระงับไม่กระสับกระส่าย
จิตต้องเป็นสมาธิแน่วแน่ ดังนี้ เธอทำตนเองให้เป็นอธิปไตย ละอกุศล
บำเพ็ญกุศล ละธรรมที่มีโทษ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจด
ได้ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า อัตตาธิปไตย.
ก็โลกาธิปไตย เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ป่าก็ดี ฯลฯ
คิดว่า (ด้วยการบวชนี้) ลางทีความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึง
ปรากฏได้ ก็แลเราบวชอยู่อย่างนี้. จะมาตรึกกามวิตก พยาบาทวิตกและ
วิหิงสาวิตก โลกสันนิวาสนี้ใหญ่นะ ก็ในโลกสันนิวาสอันใหญ่นี้ สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มีทิพยจักษุรู้จิตคนอื่นได้ มีอยู่ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เห็นไปได้ไกลด้วย ท่านเข้ามาใกล้ก็ไม่เห็นตัว ท่านรู้จิต (ของผู้อื่น)
ด้วยจิต (ของท่าน) ด้วย ท่านเหล่านั้นจะพึงรู้จักเราอย่างนี้ว่า ดูกุลบุตร
ผู้นี้ชิ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เขาลุกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแล้ว
ยังวุ่นด้วยธรรมอันเป็นบาปอกุศลอยู่ แม้เทวดาทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ
รู้จิตผู้อื่นได้ก็มี เทวดาเหล่านั้น เห็นไปได้ไกลด้วย เข้ามาใกล้ก็ไม่เห็นตัว

ด้วย รู้จิต (ของผู้อื่น) ด้วยจิต (ของตน) ด้วย แม้เทวดาเหล่านั้น ก็จะ
พึงรู้จักเราอย่างนี้ว่า ดูกุลบุตรผู้นี้ซิ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เธอออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แล้วยังวุ่นด้วยธรรมอันเป็นบาปอกุศลอยู่
ภิกษุนั้นจึงตกลงใจอย่างนี้ว่า ความเพียร เราต้องทำไม่ย่อหย่อน สติต้อง
ตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายต้องระงับไม่กระสับกระส่าย จิตต้องเป็นสมาธิแน่วแน่
ดังนี้ เธอทำโลก (คือผู้อื่น) นั่นแลให้เป็นอธิปไตย ละอกุศลบำเพ็ญกุศล
ละธรรมที่มีโทษ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดได้ นี่ภิกษุ
ทั้งหลาย เราเรียกว่า โลกาธิปไตย.
ก็ธรรมาธิปไตย เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ป่าก็ดี
ฯลฯ คิดว่า (ด้วยการบวชนี้) ลางทีความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะ
พึงปรากฏได้ (สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม) พระธรรมอันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสดีแล้ว (สนฺทิฏฐิโก) อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง (อกาลิโก)
ไม่ประกอบด้วยกาล (เอหิปสฺสิโก) ควรเรียกให้มาดู (โอปนยิโก)
ควรน้อมเข้ามา (ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ) อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน
เพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ผู้เห็น (พระธรรมนั้น) อยู่ก็มี ก็แลเราบวชในพระ-
ธรรมวินัยนี้อันเป็นสวากขาตะอย่างนี้แล้ว จะมาเกียจคร้านประมาทเสีย นั่นไม่
สมควรแก่เราเลย ภิกษุนั้นจึงตกลงใจอย่างนี้ว่า ความเพียร เราต้องทำ
ไม่ย่อหย่อน สติต้องตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายต้องระงับไม่กระสับกระส่าย จิต
ต้องเป็นสมาธิแน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแลให้เป็นอธิปไตย ละอกุศล
บำเพ็ญกุศล ละธรรมที่มีโทษ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้
หมดจดได้ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ธรรมาธิปไตย.

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย 3
ชื่อว่าความลับ ย่อมไม่มีในโลก
สำหรับผู้ทำการบาป แน่ะบุรุษ ตัวของ
ท่านย่อมรู้ว่าจริงหรือเปล่า ผู้เจริญ ท่านดู
หมิ่นตัวเอง ซึ่งเป็นพยานอย่างดีเสียแล้ว
เมื่อบาปมีอยู่ในตัว ไฉนท่านจะปิดซ่อนมัน
(ไม่ให้ตัวเองรู้) ได้
เทวดาทั้งหลายและตถาคตทั้งหลาย
ย่อมเห็นคนเขลาที่ประพฤติไม่สมควรอยู่
ในโลก เพราะเหตุนั้นแหละ บุคคลควร
ประพฤติเป็นผู้มีตนเป็นใหญ่ควรมีสติเป็น
ผู้มีโลกเป็นใหญ่ควรมีปัญญารักษาตน มี
ความพินิจ เป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่ ควร
ประพฤติตามธรรม
พระมุนีผู้บากบั่นจริง ย่อมไม่เสื่อม
ผู้ใดมีความเพียร กำราบมารลามกเสียได้
ถึงธรรมที่สิ้นชาติแล้ว ผู้เช่นนั้นนั่นเป็น
พระมุนี รู้แจ้งโลกมีปัญญาดี ไม่มีความ
ทะเยอทะยานในธรรมทั้งปวง.

จบอธิปไตยสูตรที่ 10
จบเทวทูตวรรคที่ 4

อรรถกถาอธิปไตยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอธิปไตยสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้:-

อธิบายอธิปไตย 3



อธิปไตยที่เกิดจากเหตุที่สำคัญที่สุด ชื่อว่า อธิปไตย. ในบทว่า
อตฺตาธิปเตยฺยํ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ คุณชาตที่เกิดโดยทำ
ตนให้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อัตตาธิปไตย. คุณชาติที่เกิดโดยทำชาวโลกให้เป็น
ใหญ่ ชื่อว่า โลกาธิปไตย. คุณชาติที่เกิดโดยทำโลกุตรธรรม 9 ให้เป็นใหญ่
ชื่อว่า ธัมมาธิปไตย.
บทว่า อิติภโว ในคำว่า น อิติภวาภวเหตุ หมายถึงภายใน
อนาคตอย่างนี้ (เราตถาคตออกบวชเป็นอนาคาริก) ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งภพ
ในอนาคตนั้น ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งปัจจุบันภพนั้น. บทว่า โอติณฺโณ คือ
แทรกซ้อน. ก็ชาติแทรกซ้อนอยู่ข้างในของบุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่า ถูกชาติ
ครอบงำ. แม้ในชราเป็นต้น ก็มีนัย นี้แล. บทว่า เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส
ได้แก่ กองวัฏทุกข์ทั้งหมด. บทว่า อนฺตกิริยา ปญฺญาเยถ ความว่า
การทำที่สุด คือ การทำทาง รอบด้านให้ขาดตอน พึงปรากฏ. ทำ
โอหาย แปลว่า ละ. บทว่า ปาปิฏฺฐตเร แปลว่า ต่ำช้ากว่า.
บทว่า อารทฺธํ ความว่า (ความเพียร) ที่ประคองไว้แล้ว คือให้
บริบูรณ์แล้ว และชื่อว่า ไม่ย่อหย่อน เพราะเริ่มแล้ว. บทว่า อุปฏฺฐิตา
ความว่า สติ ชื่อว่า ตั้งมั่นและไม่หลงลืม เพราะตั้งมั่นด้วยอำนาจสติปัฏฐาน 4.
บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย ความว่า นามกายและกรชกายสงบ คือ